บทลำนำที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของข้าว

บทลำนำที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของข้าว บือ หมื่อ อะ ทิ โอะ เลอ แล           ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ พอ อะ ทิ โอะเลอแล           แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ หมื่อ อะ ทิ เลอ ว่า แร            ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ด้านโน้น บือ พอ อะทิ เลอ ว่า แร    แหล่งกำหนดข้าวอยู่ด้านโน้น อะ ทู่ โดะ อ่า หล่า จวี่แย      ต้นดกๆ มีใบงามๆ กว่า แกะ มื่อแม เดอ โพ่แฆ         ได้เลี้ยงชีวิตแม่ม้ายและคนกำพร้า

เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ… เงินเต็มถัง ข้าวไม่เต็มถัง

เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ เงินเต็มถัง ข้าวไม่เต็มถัง นี่ก็เป็นอีกสุภาษิตหนึ่งที่ตอกย้ำถึงความสำคัญของข้าว เมื่อถึงเวลาที่ข้าวยากหมากแพง ข้าวกับเงินนั้นต้องแลกด้วยปริมาณที่เท่ากัน นั่นคือข้าวหนึ่งลิตร ข้าวก็ต้องหนึ่งลิตรหรือมากกว่านั้น คือเงินหนึ่งลิตรแต่อาจจะได้ข้าวไม่ถึงลิตรด้วยซ้ำ หรือเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคนก็จะให้ความสำคัญแก่เงินทอง มากกว่าให้ความสำคัญแก่ข้าว (การทำไร่ทำนา) แต่เดิมคนในสังคมต่างก็ให้ความสำคัญกับการทำไร่ไถนาข้าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่เวลานี้ไม่ใช่แล้ว ชาวนากลายเป็นคนชั้นต่ำของสังคม  

มา ทือ เอาะ หยื่อ… มา แว เอาะ เม ทำที่ดักหนูได้กินหนู ทำไร่ทำนาได้กินข้าว

มา ทือ เอาะ หยื่อ มา แว เอาะ เม ทำที่ดักหนูได้กินหนู ทำไร่ทำนาได้กินข้าว วิถีชีวิตของปวาเก่อญอนั้น ก็ขึ้นกับการทำไร่ข้าว เพราะเมื่อทำไร่ก็ไม่ใช่มีเฉพาะข้าวเท่านั้น สิ่งอื่นๆ ที่นอกจากข้าวก็สามารถหากินจากป่าได้ด้วย โดยการทำที่ดักหนูเพื่อป้องกันศัตรูข้าว หรือดักหนูเพื่อนำไปทำอาหารก็ได้ นี่ผูกพันกับข้าวและการหากินจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเขา ก็สามารถเอาชีวิตรอดได้ สำหรับชนชาวปวาเก่อญอ อยู่กับป่า พึ่งป่า หากินกับป่า ป่าจึงเป็นชีวิตของเขา เพราะฉะนั้นใครที่พูดว่า “ชนชาวปวาเก่อญอทำลายป่า” แสดงว่าเขายังเข้าใจไม่ถูกต้อง

”ดีควา”หรือ แตงชาย

  ”ดีควา”หรือ แตงชาย เพราะนอกจาก ”ดีควา” แล้ว ยังมี ”ดีหมึ” ซึ่งน่าจะแปลว่าแตงหญิง แถมยังมี ”ดีโหม่” ซึ่งโหม่ก็แปลว่าแม่ และด้วยความหลากหลายของพืชพันธุ์ โดยเฉพาะแตง จึงมีการตั้งชื่อที่แตกต่างกันไปตามสีสัน ไม่ว่าจะเป็น ดีหมึบอ ดีหมึวา ดีควาลา ดีโหม่ลา (บอ=สีเหลือง วา=สีขาว ลา=สีเขียว) และยังมีอีกสารพัดสารพันธุ์ชื่อแตงไม่น้อยกว่า 20 ชนิด ซึ่งแต่ละถิ่นที่ก็อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ดีควาเนื้อแน่น ๆ รสหวานอ่อน กินแล้วดับกระหายคลายร้อนได้อย่างดี หลังฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งแล้วนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นฤดูกินแตงของชาวปกาเก่อญอกันเลยทีเดียว ทั้งเอาใส่แกงข้าวเบ๊อะ ทำแกงแตง กินสดกับน้ำพริก หรือกินเล่น ๆ เป็นของหวานยามบ่ายในวันอากาศร้อน ๆ เอามาเลี้ยงกันตอนเอาไม้เอามือลงแขก . . . ที่มีแตงกินกันอุดมสมบูรณ์เช่นนี้เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะหยอดเมล็ดถั่ว ข้าวโพด ฟัก พริก รวมไปถึงแตง และอื่น ๆ ที่จะสามารถเก็บกินหรือใช้ประโยชน์ได้ไว้ในไร่ข้าวที่เป็นไร่หมุนเวียน พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว พืชผักบางอย่างก็จะให้ผลผลิตพอดี บางอย่างก็ทยอยออกลูกออกหน่วยตาม ๆ […]

แมงมุมนักอุตุนิยมวิทยา

แมงมุมนักอุตุนิยมวิทยา “พี่มนรู้หรือเปล่า ทำไมแมงมุมมันถึงนอนตีลังกากลับหัวอย่าง นี้” ยิ่งยง นาคสืบวงศ์ หรือในชื่อปกาเก่อญอว่า ”พาคูญแย” สมาชิกบ้านเมืองแพมที่เพิ่มบทบาทตัวเองมาเป็นไกด์ท้องถิ่น หน้าใหม่ถามกับพี่มนยิ้ม ๆ รวมถึงพวกเรา นักท่องเที่ยวกลุ่ม 4 ซึ่งประกอบด้วย พี่มน พี่พรชัย พี่ป็อป สมภพ และน้องบิว . . . หลายคนส่ายหน้าราวกับพัดลมฮาตาริ “ที่แมงมุมมันนอนคว่ำหัวลงอย่างนี้ มันกำลังบอกพวกเราว่า ฝนยังไม่หมดดี จะทำอะไรในไร่นาเข้าป่าเข้าสวนก็ให้ระวังฝน ไว้ด้วย ต่อเมื่อฝนหมดแล้วจริง ๆ มันถึงจะกลับตัวหันหัวขึ้นฟ้า เอง ขืนยังไม่หมดฝน มันหันหัวขึ้น หัวมันคงจะเปียกฝน น้ำเข้าหู เข้าตาหมดกันพอดี . . . ชาวเมืองแพมเราก็อาศัยฟ้าดู ฝนจากการดูแมงมุมเอานี่หละครับ” พาคูญแยอธิบายเหมือน เล่าให้ลูกให้หลานฟัง พวกเราต่างอ้าปากหวอด้วยความทึ่ง ส่วน ตัวสมภพเองก็ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน “เก่อปอมีคะลออาโข่…มูโข่จูเต่อเหลอะดิลอ เก่อปอมีคะถ่ออาโข่…ต่าโก่ถ่อตือลีออ นอนหัวดิ่งลงพื้น…ฝนยังไม่หมด นอนหัวโด่สู่ฟ้า…เริ่มอุ่นขึ้นแล้ว”* “ผมชอบพาลูกเข้าป่า เขาเองก็ชอบ ยังอยู่ศูนย์เด็กเล็กอยู่เลย […]

โถ่บีข่า (นกขวัญข้าว)

โถ่บีข่า (นกขวัญข้าว) เป็นนกที่อยู่คู่กับปวาเก่อญอมายาวนาน ซึ่งก่อนที่ชาวปวาเก่ อญอจะทำนาทำไร่ก็จะทำพิธีเรียกนก (โถ่บีข่า) เพื่อให้มาอยู่ มาปกปักรักษาดูแลข้าวจนกว่าจะเสร็จสิ้นฤดูทำนาทำไร่ หลัง จากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จใส่ข้าวใหม่ในยุ้งฉางเรียบร้อยแล้ว ก็ จะทำพิธีเรียกนกให้มากินข้าวกินแตงอีกรอบหนึ่ง จากนั้นก็จะ ให้นกกลับไปพักผ่อน ชาวปวาเก่อญอเชื่อว่านกจะบินขึ้นไปบน ฟ้า ครั้นเมื่อถึงฤดูทำนาทำไร่ก็ให้กลับมาอีก ทำเฉกเช่นนี้ทุกปี บ้านหลังไหนที่ทำเป็นประจำจะมีนก (โถ่บีข่า)มาพักอยู่ใน บ้านถ้าไม่อยู่ในบ้านก็จะอยู่ในเถียงนา คอยดูแลปกปักรักษาสืบ ไป คำขอหรือคำอธิฐานตอนเรียกนกขวัญข้าวหลังจากที่เสร็จสิ้นฤดู เก็บเกี่ยวผลผลิต โถ่เออมาต่าวี เอาะต่าแตะลี แฮลอเอาะหลู่เอาะดี ดีสีโชวฺพอ แซ วะแซวะเกถ่อโอะพิ ตือด๊อลอบะ