เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ปลูกต้นหว้าประมาณ 350-400 ต้น อีก 10 ปีรอดูผล อิอิ

เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ปลูกต้นหว้าประมาณ 350-400 ต้น อีก 10 ปีรอดูผล อิอิ ต้นหว้าจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ นิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะมีลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวานและอมฝาด) และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่าง ๆ อีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น

บรรยากาศการปลูกข้าวพร้อมปิดเทอมแรกของประจำปี 2560

บรรยากาศการปลูกข้าวพร้อมปิดเทอมแรกของประจำปี 2560 วันที่ 20 มิถุนายน 2560 ปีนี้ก็ปลูกข้าวเสร็จเรียบร้อยพร้อมกับปิดเทอมแรกและเปิดเทอมสองในอาทิตย์ถัดไปเลยครับ ^___^

เก็บตกบรรยากาศสอบเก็บคะแนนเทอมแรก (ขุดเลาะปั้นคันนาตัดหญ้าคันนา) ตามวีถีชาวนาดอย

เก็บตกบรรยากาศสอบเก็บคะแนนเทอมแรก (ขุดเลาะปั้นคันนาตัดหญ้าคันนา) ตามวีถีชาวนาดอย เนื่องจากดินมันค่อนข้างร่วนซุยต้องปั้นคันนาใหม่ทุกปี ถือว่าเป็นช่วงสอบเก็บคะแนนของชาวนาในเทอมแรกของฤดูกาลทำนาละกันครับ ^___”

เตรียมที่หว่านกล้า

หลังจากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ผ่านไป ปลายเดือนเมษายนของทุกปีก็ต้องเตรียมที่เตรียมตัวทำนากันตามประสาชาวนาบนดอย ช่วงวันที่ 22-30 เมษายน 2560 ที่ผ่านมาก็ได้ปล่อยน้ำลงในนาเพื่อเตรียมที่สำหรับหว่านกล้าในนาข้าว ล้อมรั้วไว้ สักวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ก็จะหว่านกล้าแล้ว นี่แหละครับวิถีชาวนา หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ชีวิตไม่สิ้น ดิ้นกันไป เพราะข้าวมีประโยชน์มากกมายมหาศาล ดังลำนำที่ว่า “บือ หมื่อ อะ ทิ โอะ เลอ แล           ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ พอ อะ ทิ โอะเลอแล           แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ หมื่อ อะ ทิ เลอ ว่า แร            ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ด้านโน้น บือ พอ อะทิ เลอ ว่า แร    แหล่งกำหนดข้าวอยู่ด้านโน้น อะ […]

ผลกระทบจากหมอกควันไฟ

เ นื่องจากในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี จังหวัดแม่ฮ่องสอนมักจะประบปัญหาหมอกควันไฟป่า ทำให้อากาศคุณภาพแย่ลง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะใน 4 กลุ่มโรคสำคัญ ได้แก่ 1.กลุ่มโรคทางเดินหายใจ 2.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด 3.กลุ่มโรคตาอักเสบ และ 4.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ ดังนั้น – ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง – หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง – ดื่มน้ำมากๆ ใช้น้ำเกลือกลั้วคอ เพื่อป้องกันการเจ็บคอ – เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ – ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละอองให้ใช้ผ้าปิดจมูก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ด้วยความปรารถนาดีจาก เด็กสามหมอก

เปรียบเทียบสองข้างทางบนดอยกับในเมืองในวันและเดือนเดียวกัน

เปรียบเทียบสองข้างทางบนดอยกับในเมืองในวันและเดือนเดียวกัน เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาที่ตามมาก็คือปัญหาหมอกควันจากไฟป่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการจุดของมนุษย์เรานี่เองทั้งที่ตั้งใจและพลั้งเผลอโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบจะตามมา ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้รู้สึกระคายเคืองหรือแสบตา การหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีความเสี่ยงที่จะมีอาการทรุดหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ขาดรายได้ จากการหยุดงาน และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันไม่เผาป่านะครับ  

ประกาศ ท่านใดสนใจและมีความประสงค์จะร่วมบริจาคเพื่อสร้างบันไดขึ้นวัดพระธาตุบ้านห้วยหมาก-ลาง

เฉพาะกิจ//ประกาศ ท่านใดสนใจและมีความประสงค์จะร่วมบริจาคเพื่อสร้างบันไดขึ้นวัดพระธาตุบ้านห้วยหมาก-ลาง ณ บ้านห้วยหมาก-ลาง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 171 ขั้น สามารถร่วมบริจาคได้ครับ ผมจะเป็นตัวแทนนำเงินบริจาคเอาไปมอบให้ผู้นำหมู่บ้านเพื่อดำเนินการต่อไป ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง ธี เด็กสามหมอก อีเมลล์ : witee@hotmail.com โทร. 08-9266-1578 line id : iamdeksammork website: www.deksammork.com 20.02.2560 by T Deksammork ++++++++++++++++++++++ รายนามผู้ร่วมบริจาคทำบุญสร้างบันไดพระธาตุห้วยหมาก-ลาง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านผม ขออนุโมธนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ 1. คุณศุภลักษณ์ อินทะวงศ์ จำนวน 200 บาท 2. คุณประพาส วนาศิริ จำนวน 300 บาท 3.อาจารย์โยธิน คุณจรรยา […]

ประวัติอาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี)

ประวัติอาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) อาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2529 โดยมีพระสง่า เป็นพระธรรมจาริกรูปแรก ที่มาประจำที่อาศรมฯ เดิมทีอาศรมฯ ตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้าน แต่เนื่อจากอยู่ในที่ต่ำ ประกอบกับอากาศอับชื้นและสถานที่คับแคบ จึงได้ย้ายและไปตั้งใหม่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นภูเขาสูง อากาศโปร่งและสถานที่กว้างขวาง เมื่อปีพ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 เริ่มก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญหลังใหม่พร้อมกับการสร้างพระธาตุเจดีย์ทางทิศตะวันออของหมู่บ้าน ห่างจากอาศรมฯ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร การก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญหลังใหม่เสร็จสิ้น พร้อมด้วยเสนาสนะอื่นๆ ประกอบด้วย กุฏิ 6 หลัง โรงครัว 1 หลัง และห้องน้ำ 1 หลัง ได้ทำพิธีฉลองสมโภช เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2553 ลำดับพระธรรมจาริกที่มาประจำอาศรมฯ มีดังนี้ 1.พระสง่า พ.ศ.2529 2.สามเณรจ๊อเหม่อพอ พ.ศ. […]

1 2 3 4 5 12