กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน

กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน วัตถุประสงค์ของพิธีกรรมนี้เพื่อแสดงความเคารพขอบคุณควายที่ช่วยให้การทำนาสำเร็จลงได้ด้วยดี แถมยังเป็นสิริมงคลให้กับควาย เชื่อว่าจะทำให้ควายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ออกลูกออกหลานเจริญเติบโต แคล้วคลาดและปลอดภัยจากภยันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการทำขวัญควายจะทำในช่วงที่เสร็จจากปลูกข้าวในไร่นาเรียบร้อยแล้ว (อาจจะทำช่วงเดียวกับผูกข้อมือประจำปี ลาคุ๊ (เดือนกรกฏาคม) แต่จะต้องหลังจากงานผูกข้อมือทำขวัญคนเสร็จและยังอยู่ภายในช่วงที่ฤดูฝนยังพรำเม็ด พิธีการเตรียม ด้าย เหล้าต้ม ข้าว น้ำ เกลือ หญ้า 3 ยอด เสื้อผ้าของใช้ของเจ้าของบ้าน และไก่ต้มหนึ่งคู่ ไก่ต้องเป็นตัวผู้กับตัวเมียอย่างละตัว และไก่ตัวนั้นพ่อแม่ไก่ก็ยังต้องมีชีวิตอยู่ ทั้งหมดเป็นของที่ใช้ในพิธีกรรมครั้งนี้เมื่อผูกฝ้ายหรือด้ายที่ปลายเขาให้ควายเสร็จแล้ว ประดับหญ้าไว้ที่หัวของควายอย่างสวยงาม ก็มีการเทเหล้าต้มให้ควายกินด้วย ไม่ได้ใส่แก้วเหมือนคนนะ แต่เทรดให้วัวเลียเอาเอง . . . นอกจากควายจะได้กินแล้ว คนก็ได้สิทธิ์นั้นด้วย โดยคนที่บ้านนี้มีคติความเชื่ออยู่ด้วยว่า เหล้าที่ต้มเพื่อทำขวัญควายครั้งนี้ ไม่ว่าจะต้มได้มากหรือน้อย เจ้าของควายจะต้องกินให้หมดภายในวันที่ทำพิธี ก็เอาไก่ต้มและของกินที่ใช้ทำพิธีนั่นหล่ะมาแกล้มเหล้าแกล้มข้าวกับคนในครอบครัว หรือเชิญเพื่อนบ้านที่สนิทสนมมากินด้วยกันก็ได้ เมามายไม่เป็นไร เพราะวันที่มีพิธีทำขวัญควายนี้ เขาถือ จะไม่ทำงานกัน ไม่สามารถเอารูปแบบจารีตของคนที่หนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับคนอีกที่หนึ่ง ว่าแบบไหนที่ถูกต้องหรือดั้งเดิม แม้จะเป็นชนชาวเดียวกันก็ตาม พิธีทำขวัญหรือมัดมือควายนี้ก็เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นของประกอบในพิธี ขั้นตอน […]