ด้ายเส้นเดียวไม่เป็นเสื้อ…ข้าวเม็ดเดียวไม่เป็นข้าว

หลื่อเต่อโบฆอ เต่อแก๊ะเช…บือเต่อเพลอะฆอ เต่อแก๊ะเมด้ายเส้นเดียวไม่เป็นเสื้อ…ข้าวเม็ดเดียวไม่เป็นข้าวคนเรานั้นไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ดังเช่น ธาบทนี้ที่ได้กล่าวไว้ว่า หากเส้นด้ายมีเส้นเดียวไม่สามารถเป็นเสื้อได้ ข้าวเม็ดเดียวไม่สามารถเป็นข้าวได้ คนเราหากอยู่คนเดียวก็ไม่สามารถจะเป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้านได้

เวลาทานข้าวอย่าทะเลาะกัน

เอาะ เม อะ คา เน๋     เอะ เลาะ ซะ เตอะ เก เวลาทานข้าวอย่าทะเลาะกัน             การที่เขาสอนอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเขาถือว่าข้าวนั้นมี  “ขวัญ” หรือชีวิตนั่นเอง เพราะหากเราทะเลาะกันขวัญข้าวก็จะหนี จะทำให้การทำมาหากินไม่ได้ผล ดังนั้นหากเรามีความสามัคคีกัน ก็จะทำให้สิ่งสูงสุดนั้นอยู่กับพวกเขาและการทำมาหากินก็จะได้ผลผลิตที่ดี “เวลาสอนลูกให้สอนเวลาทานข้าว (บนสำรับ) แต่สามีภรรยาให้สอนการที่ห้องส่วนตัว”              ชาวปกาเกอะญอถือว่า เวลาที่เหมาะสมที่จะสอนลูกก็คือ เวลาทานอาหาร เพราะขณะที่ทานอาหารก็จะฟังไปด้วย เขาจะฟังจนอิ่ม  เพราะถ้ายังไม่อิ่มก็จะไม่ลุกไปไหนแน่ เป็นเทคนิคในการให้ได้ฟังขณะทาน ฟังจนจบ และเมื่อกินข้าวลงไปลูกๆ ก็จะกินคำสั่งสอนของพ่อแม่ลงไปด้วย ส่วนพ่อแม่มีอะไรไม่เข้าใจกัน อย่าทะเลาะกันให้ลูกๆ เห็น ขอให้คุยกันเงียบๆในห้องส่วนตัว ** ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต **

เงินเต็มถัง (กระบุง) ข้าวไม่เต็มถัง (กระบุง)

  เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ   เงินเต็มถัง (กระบุง) ข้าวไม่เต็มถัง (กระบุง) นี่ก็เป็นอีกสุภาษิตหนึ่งที่ตอกย้ำถึงความสำคัญของข้าว เมื่อถึงเวลาที่ข้าวยากหมากแพง ข้าวกับเงินนั้นต้องแลกด้วยปริมาณที่เท่ากัน นั่นคือข้าวหนึ่งลิตร ข้าวก็ต้องหนึ่งลิตรหรือมากกว่านั้น คือ เงินหนึ่งลิตรแต่อาจจะได้ข้าวไม่ถึงลิตรด้วยซ้ำ หรือเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคนก็จะให้ความสำคัญแก่เงินทอง มากกว่าให้ความสำคัญแก่ข้าว (การทำไร่ทำนา) แต่เดิมคนในสังคมต่างก็ให้ความสำคัญกับการทำไร่ไถนาข้าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่เวลานี้ไม่ใช่แล้ว ชาวนากลายเป็นคนชั้นต่ำของสังคม