กว๊านพะเยา อยู่ในอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา คำว่า “กว๊าน” ภาษาพื้นเมือง หมายถึง “บึง”

กว๊านพะเยา อยู่ในอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา คำว่า “กว๊าน” ภาษาพื้นเมือง หมายถึง “บึง” กว๊านพะเยา จึงเป็นบึงน้ำอันกว้างใหญ่สุดสายตา โอบล้อมขุนเขาดอยแม่ใจ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านทิศตะวันตก ในยามเย็นและยามเช้าตรู่สีสันของท้องฟ้า และสายน้ำงดงามตรึงใจดังภาพเขียน เป็นภาพบรรยากาศอันแสนประทับใจที่ได้พบเห็นเมื่อมาเยือนเมืองพะเยาแห่งนี้ นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มาสัมผัสกว๊านพะเยา และวันนี้โอกาสดีได้ลองปั่นจักรยานออกกำลังกาย รอบกว๊าน โดยใช้จักรยานของโรงแรมเอ็มทู ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย บรรยากาศยามเย็นจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกันครับ เอ้อ..ปั่นไปถ่ายไป ภาพอาจจะเบลอๆ บ้าง แต่รับรองประทับใจแน่นอน ไป…ชมกัน  

เป่อเกร่อเอาะปว่าโหม่เต่อเกฺ…ปว่าโหม่เกฺเต่อก๊อเอาะเหน่อเม อย่าอวดแม่คนอื่น…แม่คนอื่นไม่เรียกเรากินข้าว

มีนิทานที่เล่าขานกันมานานในครั้งอดีตกาลว่า มีแม่ลูกอยู่คู่หนึ่ง แม่เป็นคนทุกข์ยากไร้ ใส่เสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง ต้องหาเช้ากินค่ำ แต่ก็สามารถเลี้ยงดูแลลูกชายจนเติบใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปลูกชายก็โตเป็นหนุ่มและได้ชอบพอกับสาวคนหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ของสาวคนนี้มีฐานะค่อนข้างดี คือ มีฐานะดีกว่าทุกอย่างนั่นแหละ วันหนึ่งทั้งสองครอบครัวได้พากันไปหาปลาในลำห้วย ไปด้วยกัน 4 คน คือ ลูกชายกับแม่ และสูกสาวกับแม่ ในขณะที่กำลังจับปลาอยู่นั้นลูกชายก็จับแต่ปลาตัวใหญ่ๆใส่ในกระบุง (ก๋วย)ของแม่สาวคนที่ตนแอบชอบอยู่ แทนที่จะใส่ในกระบุง (ก๋วย) ของแม่ตัวเอง ส่วนแม่ของตัวเองนั้นอายุค่อนข้างเยอะ เชื่องช้า จับปลาแทบไม่ได้ ได้ก็แต่ตัวเล็กๆเท่านั้น ครั้นเมื่อกลับถึงบ้านต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันเข้าบ้าน แม่ก็รีบหุงหาทำกับข้าวใส่ปลาที่ได้มาตัวเล็กตัวน้อยเท่าที่มี ส่วนลูกชายนั่งยิ้มร่าตรงหัวบันได คิดในใจว่าวันนี้เราจับปลาตัวใหญ่ๆได้เยอะ เดี๋ยวแม่ของสาวที่ตนเองแอบชอบก็จะมีเรียกให้ไปทานข้าวด้วยแน่นอน แต่รอแล้วรอเล่าจวบจนมืดค่ำก็ไม่มีใครโผล่มาเรียกให้ไปทานข้าวด้วย มีแต่แม่ของเขาที่เรียกให้ลูกชายกินข้าว เมื่อแม่เห็นลูกเป็นเช่นนั้นจึงเข้าไปปลอบและก็บอกกับลูกชายว่า “เป่อเกร่อเอาะปว่าโหม่เต่อเกฺ…ปว่าโหม่เกฺเต่อก๊อเอาะเหน่อเม” อย่าอวดแม่คนอื่น…แม่คนอื่นไม่เรียกเรากินข้าวหรอกนะลูก เมื่อลูกชายได้ฟังที่แม่พูดถึงกับร้องไห้โฮ…เข้าไปโอบกอดแม่ สำนึกผิดในสิ่งที่ตัวเองกระทำไว้ พร้อมกับรับปากแม่ว่าต่อไปจะดูแลแม่ดีๆ จนกว่าชีวีจะหาไม่ แล้วทั้งสองแม่ลูกก็นั่งทานข้าวด้วยกันด้วยความสุขสำราญ เอาไว้เตือนตัวเอง แล้วนี่ก็ ใกล้วันแม่แล้วก็ขอให้แม่ทุกคนบนโลกใบนี้มีแต่ความสุข สุขกาย สบายใจ อยู่ไหนก็มีแต่คนรัก เดินทางใกล้ไกล แคล้วคลาด ปลอดภัย อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ทีวี […]

กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน

กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน วัตถุประสงค์ของพิธีกรรมนี้เพื่อแสดงความเคารพขอบคุณควายที่ช่วยให้การทำนาสำเร็จลงได้ด้วยดี แถมยังเป็นสิริมงคลให้กับควาย เชื่อว่าจะทำให้ควายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ออกลูกออกหลานเจริญเติบโต แคล้วคลาดและปลอดภัยจากภยันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการทำขวัญควายจะทำในช่วงที่เสร็จจากปลูกข้าวในไร่นาเรียบร้อยแล้ว (อาจจะทำช่วงเดียวกับผูกข้อมือประจำปี ลาคุ๊ (เดือนกรกฏาคม) แต่จะต้องหลังจากงานผูกข้อมือทำขวัญคนเสร็จและยังอยู่ภายในช่วงที่ฤดูฝนยังพรำเม็ด พิธีการเตรียม ด้าย เหล้าต้ม ข้าว น้ำ เกลือ หญ้า 3 ยอด เสื้อผ้าของใช้ของเจ้าของบ้าน และไก่ต้มหนึ่งคู่ ไก่ต้องเป็นตัวผู้กับตัวเมียอย่างละตัว และไก่ตัวนั้นพ่อแม่ไก่ก็ยังต้องมีชีวิตอยู่ ทั้งหมดเป็นของที่ใช้ในพิธีกรรมครั้งนี้เมื่อผูกฝ้ายหรือด้ายที่ปลายเขาให้ควายเสร็จแล้ว ประดับหญ้าไว้ที่หัวของควายอย่างสวยงาม ก็มีการเทเหล้าต้มให้ควายกินด้วย ไม่ได้ใส่แก้วเหมือนคนนะ แต่เทรดให้วัวเลียเอาเอง . . . นอกจากควายจะได้กินแล้ว คนก็ได้สิทธิ์นั้นด้วย โดยคนที่บ้านนี้มีคติความเชื่ออยู่ด้วยว่า เหล้าที่ต้มเพื่อทำขวัญควายครั้งนี้ ไม่ว่าจะต้มได้มากหรือน้อย เจ้าของควายจะต้องกินให้หมดภายในวันที่ทำพิธี ก็เอาไก่ต้มและของกินที่ใช้ทำพิธีนั่นหล่ะมาแกล้มเหล้าแกล้มข้าวกับคนในครอบครัว หรือเชิญเพื่อนบ้านที่สนิทสนมมากินด้วยกันก็ได้ เมามายไม่เป็นไร เพราะวันที่มีพิธีทำขวัญควายนี้ เขาถือ จะไม่ทำงานกัน ไม่สามารถเอารูปแบบจารีตของคนที่หนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับคนอีกที่หนึ่ง ว่าแบบไหนที่ถูกต้องหรือดั้งเดิม แม้จะเป็นชนชาวเดียวกันก็ตาม พิธีทำขวัญหรือมัดมือควายนี้ก็เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นของประกอบในพิธี ขั้นตอน […]

ฝรั่งไร้เมล็ด เป็นฝรั่งที่มีผิวสวยสีเหลืองทอง ผลใหญ่ รสชาติหวานกรอบ อมเปรี้ยวเล็กน้อย และให้ผลดก

ฝรั่งไร้เมล็ด เป็นฝรั่งที่มีผิวสวยสีเหลืองทอง ผลใหญ่ รสชาติหวานกรอบ อมเปรี้ยวเล็กน้อย และให้ผลดก รับประทานได้ทั้งผล ในขณะที่ฝรั่งทั่วไป ซึ่งมีเมล็ดจะรับประทานเนื้อไปเพียงครึ่งเดียว ทดลองปลูกเมื่อวันที่ 1-2 กรกฏาคม 2560 ลองดูว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามกันต่อไป

เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ปลูกต้นหว้าประมาณ 350-400 ต้น อีก 10 ปีรอดูผล อิอิ

เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ปลูกต้นหว้าประมาณ 350-400 ต้น อีก 10 ปีรอดูผล อิอิ ต้นหว้าจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ นิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะมีลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวานและอมฝาด) และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่าง ๆ อีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น

บรรยากาศการปลูกข้าวพร้อมปิดเทอมแรกของประจำปี 2560

บรรยากาศการปลูกข้าวพร้อมปิดเทอมแรกของประจำปี 2560 วันที่ 20 มิถุนายน 2560 ปีนี้ก็ปลูกข้าวเสร็จเรียบร้อยพร้อมกับปิดเทอมแรกและเปิดเทอมสองในอาทิตย์ถัดไปเลยครับ ^___^

เก็บตกบรรยากาศสอบเก็บคะแนนเทอมแรก (ขุดเลาะปั้นคันนาตัดหญ้าคันนา) ตามวีถีชาวนาดอย

เก็บตกบรรยากาศสอบเก็บคะแนนเทอมแรก (ขุดเลาะปั้นคันนาตัดหญ้าคันนา) ตามวีถีชาวนาดอย เนื่องจากดินมันค่อนข้างร่วนซุยต้องปั้นคันนาใหม่ทุกปี ถือว่าเป็นช่วงสอบเก็บคะแนนของชาวนาในเทอมแรกของฤดูกาลทำนาละกันครับ ^___”

เตรียมที่หว่านกล้า

หลังจากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ผ่านไป ปลายเดือนเมษายนของทุกปีก็ต้องเตรียมที่เตรียมตัวทำนากันตามประสาชาวนาบนดอย ช่วงวันที่ 22-30 เมษายน 2560 ที่ผ่านมาก็ได้ปล่อยน้ำลงในนาเพื่อเตรียมที่สำหรับหว่านกล้าในนาข้าว ล้อมรั้วไว้ สักวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ก็จะหว่านกล้าแล้ว นี่แหละครับวิถีชาวนา หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ชีวิตไม่สิ้น ดิ้นกันไป เพราะข้าวมีประโยชน์มากกมายมหาศาล ดังลำนำที่ว่า “บือ หมื่อ อะ ทิ โอะ เลอ แล           ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ พอ อะ ทิ โอะเลอแล           แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ หมื่อ อะ ทิ เลอ ว่า แร            ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ด้านโน้น บือ พอ อะทิ เลอ ว่า แร    แหล่งกำหนดข้าวอยู่ด้านโน้น อะ […]

1 2 3 4