รูปภาพทั่วไป
รูปภาพทั่วไป
หนึ่งวันที่ไร่ข้าว One day at the rice field
หนึ่งวันที่ไร่ข้าว One day at the rice field ‘ไร่หมุนเวียน’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทำไร่บนวิถีแห่งการอนุรักษ์ป่า ภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียนเป็นวิถีแห่งการอนุรักษ์ เป็นการใช้พื้นที่เพาะปลูกในช่วงเวลา 1 ปี จากนั้นหมุนเวียนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้พื้นที่เดิมได้พักฟื้นและสะสมแร่ธาตุอาหารในดิน โดยวงจรในการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนใช้เวลาประมาณ 5 – 12 ปี การพักฟื้นคือการปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้เฉยๆ พื้นที่พักฟื้นมีชื่อเรียกว่า ‘ไร่เหล่า’ ตลอดระยะเวลา 12 ปี ธรรมชาติจะเยียวยารักษาผืนดิน มอบความอุดมสมบูรณ์และพืชพรรณ จนพื้นที่ไร่เหล่าซึ่งเคยราบเตียนกลับมาชอุ่มชุ่มชื้นเป็นผืนป่าเขียวขจีอีกครั้ง การทำไร่หมุนเวียนถือเป็นวิถีการเกษตรที่สอดคล้องกับหลักนิเวศป่า และเป็นภูมิปัญญาในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และยังถือเป็นหลักประกันของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพราะการทำไร่หมุนเวียนนอกจากจะมีการปลูกข้าวไร่ซึ่งถือเป็นพืชชนิดหลักแล้ว ยังมีการปลูกพืชพรรณชนิดอื่นๆ แบบผสมผสาน ทั้งพืชล้มลุก พืชคลุมดิน รวมไปถึงไม้ยืนต้น ^__^
ตามติด #วิถีชีวิตชนบท วันที่ 3 ของการ #ปลูกข้าว Follow the rural way of life Day 3 of #riceplanting
ตามติดวิถีชีวิตชนบท วันที่ 3 ของการปลูกข้าว Follow the rural way of life Day 3 of rice planting “สู่บือ” (ปลูกข้าว) #บือ #ข้าว ชาวปวาเก่อญอจะเรียกข้าวว่า ‘บือ’ คนเมืองหรือคนไทยในพื้นราบจะเรียกกันว่า ‘ข้าวดอย’ เพราะเป็นข้าวที่ปลูกอยู่บนดอยตามชื่อ เมื่อปลูกบนดอยก็ยากที่จะทำนาแบบใช้น้ำเหมือนการปลูกข้าวบนพื้นราบ นาส่วนใหญ่จะเป็นนาขั้นบันได อาศัยลำธารเล็กๆและก็น้ำฝนในการหล่อเลี้ยงเพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตงอกงาม ระยะเวลาการเพาะปลูปจะกินเวลานาน ประมาณ 7-8 เดือน เพราะเป็นนาปี คือเริ่มหว่านกล้าตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในต้นเดือนธันวาคม ซึ่งในเวลานานมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและลักษณะภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ด้วย ข้าวดอยเมล็ดจะสั้นป้อม เหนียว นุ่ม หนึบ (บือโป๊ะโล๊ะ) กินกับอาหารได้ทั้งเปียก หมาด และแห้ง ถ้ากินบนดอยอาจจะได้กลิ่นควันจากเตาที่หุงด้วยฟืนช่างได้ฟิลสำหรับการเจริญอาหารยิ่งนัก ^__” ข้าวพันธุ์บือโป๊ะโล๊ะ ถูกปลูกในที่สูง ที่มีอากาศเย็น โดยดั้งเดิม เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มขาติพันธุ์ปวาเก่อญอซึ่งพันธุ์ข้าวบือโป๊ะโล๊ะ เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ผ่านการคัดเลือก โดยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวปวาเก่อญอ เรียกได้ว่า เป็นมรดกสืบทอดกันมาปว่าเก่อญอเลยก็ได้ สนใจเดินชมทุ่งท่องเที่ยวแบบบ้านๆ […]
ตามติด #วิถีชีวิตชนบท วันที่ 2 ของการ #ปลูกข้าว Follow the rural way of life Day 2 of #riceplanting
ตามติดวิถีชีวิตชนบท วันที่ 2 ของการปลูกข้าว Follow the rural way of life Day 2 of rice planting “สู่บือ” (ปลูกข้าว) #บือ #ข้าว ชาวปวาเก่อญอจะเรียกข้าวว่า ‘บือ’ คนเมืองหรือคนไทยในพื้นราบจะเรียกกันว่า ‘ข้าวดอย’ เพราะเป็นข้าวที่ปลูกอยู่บนดอยตามชื่อ เมื่อปลูกบนดอยก็ยากที่จะทำนาแบบใช้น้ำเหมือนการปลูกข้าวบนพื้นราบ นาส่วนใหญ่จะเป็นนาขั้นบันได อาศัยลำธารเล็กๆและก็น้ำฝนในการหล่อเลี้ยงเพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตงอกงาม ระยะเวลาการเพาะปลูปจะกินเวลานาน ประมาณ 7-8 เดือน เพราะเป็นนาปี คือเริ่มหว่านกล้าตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในต้นเดือนธันวาคม ซึ่งในเวลานานมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและลักษณะภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ด้วย ข้าวดอยเมล็ดจะสั้นป้อม เหนียว นุ่ม หนึบ (บือโป๊ะโล๊ะ) กินกับอาหารได้ทั้งเปียก หมาด และแห้ง ถ้ากินบนดอยอาจจะได้กลิ่นควันจากเตาที่หุงด้วยฟืนช่างได้ฟิลสำหรับการเจริญอาหารยิ่งนัก ^__” ข้าวพันธุ์บือโป๊ะโล๊ะ ถูกปลูกในที่สูง ที่มีอากาศเย็น โดยดั้งเดิม เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มขาติพันธุ์ปวาเก่อญอซึ่งพันธุ์ข้าวบือโป๊ะโล๊ะ เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ผ่านการคัดเลือก โดยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวปวาเก่อญอ เรียกได้ว่า เป็นมรดกสืบทอดกันมาปว่าเก่อญอเลยก็ได้ สนใจเดินชมทุ่งท่องเที่ยวแบบบ้านๆ […]
บรรยากาศปลูกข้าววันแรก ประจำปี 2566 เป็นอย่างไรไปดู Planting rice for the first day of the year 2023
ฤดูปลูกข้าว ปี 2566 นี่คือวิถีชีวิตชนบทในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย Rice Planting Season 2023 This is the rural way of life in Mae Hong Son Province, Thailand. “สู่บือ” (ปลูกข้าว) #บือ #ข้าว ชาวปวาเก่อญอจะเรียกข้าวว่า ‘บือ’ คนเมืองหรือคนไทยในพื้นราบจะเรียกกันว่า ‘ข้าวดอย’ เพราะเป็นข้าวที่ปลูกอยู่บนดอยตามชื่อ เมื่อปลูกบนดอยก็ยากที่จะทำนาแบบใช้น้ำเหมือนการปลูกข้าวบนพื้นราบ นาส่วนใหญ่จะเป็นนาขั้นบันได อาศัยลำธารเล็กๆและก็น้ำฝนในการหล่อเลี้ยงเพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตงอกงาม ระยะเวลาการเพาะปลูปจะกินเวลานาน ประมาณ 7-8 เดือน เพราะเป็นนาปี คือเริ่มหว่านกล้าตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในต้นเดือนธันวาคม ซึ่งในเวลานานมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและลักษณะภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ด้วย ข้าวดอยเมล็ดจะสั้นป้อม เหนียว นุ่ม หนึบ (บือโป๊ะโล๊ะ) กินกับอาหารได้ทั้งเปียก หมาด และแห้ง ถ้ากินบนดอยอาจจะได้กลิ่นควันจากเตาที่หุงด้วยฟืนช่างได้ฟิลสำหรับการเจริญอาหารยิ่งนัก ^__” ข้าวพันธุ์บือโป๊ะโล๊ะ ถูกปลูกในที่สูง ที่มีอากาศเย็น […]
Doi Jigjong | ดอยจิกจ้อง
Doi Jigjong | ดอยจิกจ้อง ดอยจิกจ้อง ณ จุดสูงสุด มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,933 เมตร ท่ามกลางขุนเขาทิวทัศน์ 360 องศา สามารถมองเห็นวิวอำเภอปายได้เป็นอย่างดี อากาศบนยอดดอยเย็นสบายและบริสุทธิ์ ดอยจิกจ้อง ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโอกาสผ่านมาแม่ฮ่องสอน อย่าลืมแวะเที่ยวชมกันนะครับ ^__” Doi Jigjong Doi Jig Jong at the highest point has a height of 1,933 meters above sea level. The air on the top of the mountain is cool and pure. Doi Jig […]
#เที่ยวน่าน น่านหรือเมืองนันทบุรี สุดขอบฟ้าเมืองล้านนาตะวันออก เป็นเมืองที่งดงามทางด้านวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น มีความหลากหลายวัฒนธรรมประเพณี
#เที่ยวน่าน น่านหรือเมืองนันทบุรี สุดขอบฟ้าเมืองล้านนาตะวันออก เป็นเมืองที่งดงามทางด้านวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น มีความหลากหลายวัฒนธรรมประเพณี ทะเลภูเขาที่สลับซับซ้อน ธรรมชาติสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเสน่ห์ของเมืองน่าน ที่ทำให้ใครหลายคนหลงรักและเลือกเดินทางมายังจังหวัดนี้ ถือเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตที่เหล่านักเดินทางต่างใฝ่ฝัน ที่จะมาเที่ยวสัมผัสบรรยากาศของความเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะไปเที่ยวน่านฤดูไหนก็สวยงามเสมอ บอกเลยถ้ามีโอกาสแวะไปเที่ยวน่านกัน ^___” Nan or Mueang Nanthaburi The horizon of Eastern Lanna City It is a beautiful city in terms of culture and local identity. There are diverse cultural traditions ,intricate mountain seeing beautiful nature, various attractions These are the charms of Nan. […]
กองแลน/Pai Canyon (ปาย แคนยอน) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการที่ดินทรุดตัวบนภูเขาสูงนี้ และถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผา
กองแลน/Pai Canyon (ปาย แคนยอน) กองแลน หรือ ปายแคนยอน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการที่ดินทรุดตัวบนภูเขาสูงนี้ และถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผา ต่อกันเป็นบริเวณกว้าง ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอปายไปตามเส้นทางหลวง หมายเลข 1095 สายปาย – แม่มาลัย ประมาณ 7 กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวามือ สามารถเดินเที่ยว ถ่ายรูปได้เป็นวงกลม ชมความสวยงามได้โดยรอบแบบ 360 องศา เวลาเดินเที่ยวต้องระวังมากๆ เพราะดินจะร่วนมากและยังเป็นดินแดงอีกด้วย อาจจะลื่นและทำให้เกิดอันตรายได้ กองแลนหรือปายแคนยอน ถือเป็นไฮไลท์ยอดฮิตอันดับต้นๆของคนมาเที่ยวปาย สำหรับดูพระอาทิตย์ขึ้นและตกในที่เดียวกัน มีโอกาสแวะมาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของปายที่กองแลนกันได้นะครับ ^___” Kong Lan/Pai Canyon Kong Lan or Pai Canyon is a naturally occurring tourist attraction. caused by land subsidence on this high […]
ล่องห่วงยางแม่น้ำปาย อีกหนึ่งกิจกรรมมันส์ๆ ที่ต้องลองทำดูสักครั้งในชีวิต
ลำปายสายธาร นมัสการหลวงพ่ออุ่นเมือง ลือเลื่องกระเทียมพันธุ์ดี ป่าเขียวขจีรอบทิศ วิถีชีวิตสงบร่มเย็น ล่องห่วงยางแม่น้ำปาย อีกหนึ่งกิจกรรมมันส์ๆ ที่ต้องลองทำดูสักครั้งในชีวิต จากสะพานเวียงเหนือหรือวังปลาตาลเจ็ดต้น ล่องไปขึ้นที่สะพานประวัติศาสตร์อำเภอปาย ใช้เวลาประมาณ 3- 4 ชั่วโมง ระยะทาง 10 – 12 กิโลเมตร แต่ถ้าหากใครไม่อยากล่องนานก็ขึ้นฝั่งก่อนได้ เพราะตลอดริมฝั่งน้ำปาย ก็จะมีร้านกาแฟ มีบาร์คอยให้บริการ หรือว่าแวะจิบเครื่องดื่มเย็นๆ บนฝั่งก่อนได้ เอาที่เราสะดวกว่าเลยครับ ตลอดสองฝั่งลำน้ำปายก็จะมีรังนกนกกระจาบบนต้นไม้ ต้นมะพร้าว ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงที่นกกระจาบจะทำรังเพื่อการผสมพันธ์และออกไข่ ถือเป็นโอกาสดีและหาได้ยากยิ่ง มีโอกาสแวะมาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของลำน้ำปายกันได้นะครับ ^__^ Lampai Stream, Worshiping Luang Pho Unmuang,Known for good varieties of garlic, green forest all around, peaceful way of life Tubing on the […]
พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 จากประเทศศรีลังกา บรูไน และประเทศไทย ณ พระธาตุเจดีย์บ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 จากประเทศศรีลังกา บรูไน และประเทศไทย ณ พระธาตุเจดีย์บ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000 ประเทศไทย ถวายการอุปถัมภ์โดยคุณแม่อรวรรณ ทำบุญ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์และคณะ ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนบ้านห้วยหมาก-ลาง และหมู่บ้านใกล้เคียง เนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ในอดีตได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิดใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ ปัจจุบันวันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา และเป็นวันหยุดในหลายประเทศด้วย คนไทยในฐานะชาวพุทธมักจะไปไหว้พระ ทำบุญ และเวียนเทียนในวันสำคัญนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว ^__”