ก่อนกินให้เป่า ก่อนพูดให้คิด…รีบกินจะสำลัก รีบพูดจะผิดพลาด

เก่อเอาะอูซู่ เก่อโตโชโหม่…เอาะพึเฉ่อพึ เก่อโตพึ เก่อหม่าพึก่อนกินให้เป่า ก่อนพูดให้คิด…รีบกินจะสำลัก รีบพูดจะผิดพลาดก่อนที่จะทำสิ่งใดก็ตามต้องคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนเสมอ หากเราทำสิ่งใดโดยไม่มีสติก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ธาบทนี้จึงสอนให้คนเรานั้นตระหนักและระลึกเสมอว่าก่อนที่จะทำสิ่งใดต้องคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เปิดปัญหาและเสียใจในภายหลัง

เรากินด้วยกันจะอร่อย…เรานอนด้วยกันจะอุ่น

เป่อเอาะเซ่อเก๊าะหวิ…เป่อมีเซ่อเก๊าะเลอ เรากินด้วยกันจะอร่อย…เรานอนด้วยกันจะอุ่นเวลาที่เรากินข้าวด้วยกันหลายๆคนจะอร่อยกว่ากินข้าวคนเดียว (แย่งกันกินกับอร่อยนะ) เมื่อนอนด้วยกันหลายๆคนก็จะมีความอบอุ่นแม้ว่าสภาพอากาศนั้นจะหนาวเยือกเย็นแค่ไหนก็ตาม ธาบทนี้มีความหมายว่าคนเราจะต้องมีเพื่องพ้องน้องพี่คอยช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยาก ในความเป็นเพื่อนพ้องน้องพี่จะสร้างความอบอุ่นและเป็นขวัญเป็นกำลังใจให้แก่กัน

ด้ายเส้นเดียวไม่เป็นเสื้อ…ข้าวเม็ดเดียวไม่เป็นข้าว

หลื่อเต่อโบฆอ เต่อแก๊ะเช…บือเต่อเพลอะฆอ เต่อแก๊ะเมด้ายเส้นเดียวไม่เป็นเสื้อ…ข้าวเม็ดเดียวไม่เป็นข้าวคนเรานั้นไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ดังเช่น ธาบทนี้ที่ได้กล่าวไว้ว่า หากเส้นด้ายมีเส้นเดียวไม่สามารถเป็นเสื้อได้ ข้าวเม็ดเดียวไม่สามารถเป็นข้าวได้ คนเราหากอยู่คนเดียวก็ไม่สามารถจะเป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้านได้

ไม่ต้องไปเส้นทางทีคนอื่นไป..ไปเส้นทางที่เป็นของพ่อของแม่

ซึ เต่อ แล แกล๊ะ เลอ ปกา แล …แล เลอะ โหม่ แกล๊ะ เลอ ปา แกล๊ะไม่ต้องไปเส้นทางทีคนอื่นไป ไปเส้นทางที่เป็นของพ่อของแม่สำรวจหนทางของชีวิตว่า ทางที่คนมากมายเห่อกันไป หรือกระแสสังคมไหลกันไป ว่าดีหรือไม่ดี ต้องย้อนมองดูที่พื้นฐาน หนทางที่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายเราเป็นมา และในวีถีนี้จะทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร?? จะเดินต่อไปอย่างไร??

แม่น้ำใหญ่เพราะลำธารไหลมาบรรจบ…คนรวยอยู่ได้ เพราะคนจนเลี้ยงดู

ทีโกละโดะทีโพลอแชะ.. ปว่าอาโดะปวาผล่อกว่าแชวฺ แม่น้ำใหญ่เพราะลำธารไหลมาบรรจบ…คนรวยอยู่ได้ เพราะคนจนเลี้ยงดูมนุษย์เป็นสัตว์สังคมย่อมอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและ กัน เช่นเดี่ยวกับคนที่ขึ้นสู่ที่สูงได้จะต้องผ่านปัญหาอุปสรรคมากมาย ได้ รับความช่วยเหลือจากหลายคน คนที่เป็นใหญ่เป็นโตก็ได้รับความช่วย เหลือจากคนยากจน เหมือนกับลำห้วยที่ใหญ่ได้ต้องมีลำห้วยเล็กๆ ลำห้วยสาขาต่างๆ หลายๆลำห้วยไหลมารวมกัน

ดื่มน้ำรักษาน้ำ..ใช้แผ่นดินรักษาแผ่นดิน

ออที เก่อตอที…เอาะก่อเก่อตอก่อ ดื่มน้ำรักษาน้ำ..ใช้แผ่นดินรักษาแผ่นดินชาวปวาเก่อญอรู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า และรู้จักการถนอมรักษาด้วยภูมิปัญญาของชนเผ่า ผู้เฒ่าผู้แก่ได้สอนลูกหลานเสมอว่า …เราใช้น้ำก็จงช่วยกันรักษา เราใช้แผ่นดินก็จงช่วยกันรักษา เพื่อให้น้ำและแผ่นดินอยู่คู่กับเราไปนานๆ และสามาถใช้ประโยชน์ได้สืบไป

ไก่ป่าขันเรียกไก่บ้าน…แผ่นดินไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว

ชอมีเอาะโอบะชอเดอ.. ก่อเต่อบะอาหล่อเลอเปลอชอเดอเอาะโอบะชอมี…กอแกละอาข่อบะปลี ไก่ป่าขันเรียกไก่บ้าน…แผ่นดินไม่เหมือนแต่ก่อนแล้วไก่บ้านขันเรียกไก่ป่า…แผ่นดินจะกลับสู่ข้อเท้าติดบ่วง ธาบทนี้เป็นการเปรียบเทียบว่าไก่ป่าก็เหมือนกับสิ่งภายนอก เช่น ผู้คน วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ความเจริญรุ่งเรืองที่มาจากภายนอก ไก่บ้านก็ได้แก่ คนปวาเก่อญอ หากคนปวาเก่อญอรับเอา วัฒนธรรมประเพณี ค่านิมและความเจริญต่างๆจากภายนอกเข้ามา จนลืมความเป็นชนเผ่าปวาเก่อญอ ก็จะทำให้เกิดความลุ่มหลงงมงายหลงไหลยึดติดกับสิ่งใหม่ๆเหล่านั้น จนลืมรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของชนเผ่าปวาเก่อญอเรา

เวลาทานข้าวอย่าทะเลาะกัน

เอาะ เม อะ คา เน๋     เอะ เลาะ ซะ เตอะ เก เวลาทานข้าวอย่าทะเลาะกัน             การที่เขาสอนอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเขาถือว่าข้าวนั้นมี  “ขวัญ” หรือชีวิตนั่นเอง เพราะหากเราทะเลาะกันขวัญข้าวก็จะหนี จะทำให้การทำมาหากินไม่ได้ผล ดังนั้นหากเรามีความสามัคคีกัน ก็จะทำให้สิ่งสูงสุดนั้นอยู่กับพวกเขาและการทำมาหากินก็จะได้ผลผลิตที่ดี “เวลาสอนลูกให้สอนเวลาทานข้าว (บนสำรับ) แต่สามีภรรยาให้สอนการที่ห้องส่วนตัว”              ชาวปกาเกอะญอถือว่า เวลาที่เหมาะสมที่จะสอนลูกก็คือ เวลาทานอาหาร เพราะขณะที่ทานอาหารก็จะฟังไปด้วย เขาจะฟังจนอิ่ม  เพราะถ้ายังไม่อิ่มก็จะไม่ลุกไปไหนแน่ เป็นเทคนิคในการให้ได้ฟังขณะทาน ฟังจนจบ และเมื่อกินข้าวลงไปลูกๆ ก็จะกินคำสั่งสอนของพ่อแม่ลงไปด้วย ส่วนพ่อแม่มีอะไรไม่เข้าใจกัน อย่าทะเลาะกันให้ลูกๆ เห็น ขอให้คุยกันเงียบๆในห้องส่วนตัว ** ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต **

เงินเต็มถัง (กระบุง) ข้าวไม่เต็มถัง (กระบุง)

  เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ   เงินเต็มถัง (กระบุง) ข้าวไม่เต็มถัง (กระบุง) นี่ก็เป็นอีกสุภาษิตหนึ่งที่ตอกย้ำถึงความสำคัญของข้าว เมื่อถึงเวลาที่ข้าวยากหมากแพง ข้าวกับเงินนั้นต้องแลกด้วยปริมาณที่เท่ากัน นั่นคือข้าวหนึ่งลิตร ข้าวก็ต้องหนึ่งลิตรหรือมากกว่านั้น คือ เงินหนึ่งลิตรแต่อาจจะได้ข้าวไม่ถึงลิตรด้วยซ้ำ หรือเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคนก็จะให้ความสำคัญแก่เงินทอง มากกว่าให้ความสำคัญแก่ข้าว (การทำไร่ทำนา) แต่เดิมคนในสังคมต่างก็ให้ความสำคัญกับการทำไร่ไถนาข้าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่เวลานี้ไม่ใช่แล้ว ชาวนากลายเป็นคนชั้นต่ำของสังคม

แม่คือเจดีย์ พ่อคือวัดวาอาราม… หากไหว้เจดีย์ไหว้แม่เสียก่อน

โหม่ เหม่ โฆ่ เป่อ ป่า เหม่ วะ… เหม่บาโฆ่ บา โหม่ เลอะ ญา แม่คือเจดีย์ พ่อคือวัดวาอาราม… หากไหว้เจดีย์ไหว้แม่เสียก่อน พ่อแม่เป็นคนที่สำคัญที่สุดก่อนจะทำบุญอย่างอื่น ขอให้มีความกตัญญูต่อพ่อแม่จะเป็นที่ประเสริฐที่สุด หรืออ่านได้ที่ http://www.gotoknow.org/posts/555358

1 2 3