หนึ่งวันที่ไร่ข้าว One day at the rice field

หนึ่งวันที่ไร่ข้าว One day at the rice field ‘ไร่หมุนเวียน’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทำไร่บนวิถีแห่งการอนุรักษ์ป่า ภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียนเป็นวิถีแห่งการอนุรักษ์ เป็นการใช้พื้นที่เพาะปลูกในช่วงเวลา 1 ปี จากนั้นหมุนเวียนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้พื้นที่เดิมได้พักฟื้นและสะสมแร่ธาตุอาหารในดิน โดยวงจรในการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนใช้เวลาประมาณ 5 – 12 ปี การพักฟื้นคือการปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้เฉยๆ พื้นที่พักฟื้นมีชื่อเรียกว่า ‘ไร่เหล่า’ ตลอดระยะเวลา 12 ปี ธรรมชาติจะเยียวยารักษาผืนดิน มอบความอุดมสมบูรณ์และพืชพรรณ จนพื้นที่ไร่เหล่าซึ่งเคยราบเตียนกลับมาชอุ่มชุ่มชื้นเป็นผืนป่าเขียวขจีอีกครั้ง การทำไร่หมุนเวียนถือเป็นวิถีการเกษตรที่สอดคล้องกับหลักนิเวศป่า และเป็นภูมิปัญญาในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และยังถือเป็นหลักประกันของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพราะการทำไร่หมุนเวียนนอกจากจะมีการปลูกข้าวไร่ซึ่งถือเป็นพืชชนิดหลักแล้ว ยังมีการปลูกพืชพรรณชนิดอื่นๆ แบบผสมผสาน ทั้งพืชล้มลุก พืชคลุมดิน รวมไปถึงไม้ยืนต้น ^__^  

หากเปรียบเทียบกับการเรียนในโรงเรียน ช่วงนี้ก็เป็นการสอบเก็บคะแนน นั่นคือ ต้องดายหญ้า ที่คันนา

ข้าวอินทรีย์ โนเคมีคอล โดยทีวี เด็กสามหมอก ข้าวอินทรีย์เป็นผลผลิตที่มาจากการผลิตแบบอินทรีย์ (Organic farming หรือ Organic agriculture) เป็นการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ รวมไปถึงปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืช ในทุกขั้นตอนการผลิตเน้นการใช้สารอินทรีย์จากธรรมชาติ ทุกขั้นตอนลงมือทำเองตั้งแต่เตรียมที่ยันเก็บเกี่ยวผลผลิต หากเปรียบเทียบกับการเรียนในโรงเรียน ช่วงนี้ก็เป็นการสอบเก็บคะแนน นั่นคือ ต้องดายหญ้า ที่คันนา ซึ่งปีหนึ่งๆ ตัดสามสี่รอบ เพื่อไม่ให้หญ้ามันรก คันนาก็จะได้ดูสวยเป็นระเบียบ ข้าวก็จะได้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น