พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 จากประเทศศรีลังกา บรูไน และประเทศไทย ณ พระธาตุเจดีย์บ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 จากประเทศศรีลังกา บรูไน และประเทศไทย ณ พระธาตุเจดีย์บ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000 ประเทศไทย ถวายการอุปถัมภ์โดยคุณแม่อรวรรณ ทำบุญ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์และคณะ ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนบ้านห้วยหมาก-ลาง และหมู่บ้านใกล้เคียง เนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ในอดีตได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิดใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ ปัจจุบันวันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา และเป็นวันหยุดในหลายประเทศด้วย คนไทยในฐานะชาวพุทธมักจะไปไหว้พระ ทำบุญ และเวียนเทียนในวันสำคัญนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว ^__”

เส่กอโพ ผลไม้ยอดฮิตบนยอดดอย

การได้เกิดมาบนยอดดอย บนผืนแผ่นดินไทยนับว่าเป็นเรื่องที่โชคดีมากๆ สำหรับผม เพราะมีผลไม้ให้กินแทบทุกฤดู  ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่ง , มะม่วง , ส้ม , มะละกอ ,กล้วย,ทูบอส่า,มะขามป้อม,มะเดื่อ,มะไฟ, เส่กอโพ,เส่เบะส่า,เส่ทูโพ เป็นต้น และในฤดูร้อนทุกปี ก็จะมีผลไม้ชนิดหนึ่งที่ออกดอกออกผลให้เราได้กิน นั้นก็คือเส่ กอ โพ  (ภาษากะเหรี่ยง) ชื่อภาษาไทยผมไม่แน่ใจ ผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารสูงที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เป็นผลไม้ที่ผมชื่นชอบมากๆ ในหน้าร้อนที่ได้แล้วทานแล้วรู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันที นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีผลไม้บางชนิดยังสามารถรับประทานต้านโรคภัยไข้เจ็บหรือเอาไปทำเป็นยาสมุนไพรก็ดีใช่ย่อยเรียกได้ว่าประโยชน์ของผลไม้เยอะจริง แต่ผลไม้บางชนิดทานเกินจำนวนที่ร่างการต้องการมากไปก็ไม่ดี ผู้บริโภคควรศึกษาให้ดีเสียก่อนทานด้วยนะครับ

เป่อเกร่อเอาะปว่าโหม่เต่อเกฺ…ปว่าโหม่เกฺเต่อก๊อเอาะเหน่อเม อย่าอวดแม่คนอื่น…แม่คนอื่นไม่เรียกเรากินข้าว

มีนิทานที่เล่าขานกันมานานในครั้งอดีตกาลว่า มีแม่ลูกอยู่คู่หนึ่ง แม่เป็นคนทุกข์ยากไร้ ใส่เสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง ต้องหาเช้ากินค่ำ แต่ก็สามารถเลี้ยงดูแลลูกชายจนเติบใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปลูกชายก็โตเป็นหนุ่มและได้ชอบพอกับสาวคนหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ของสาวคนนี้มีฐานะค่อนข้างดี คือ มีฐานะดีกว่าทุกอย่างนั่นแหละ วันหนึ่งทั้งสองครอบครัวได้พากันไปหาปลาในลำห้วย ไปด้วยกัน 4 คน คือ ลูกชายกับแม่ และสูกสาวกับแม่ ในขณะที่กำลังจับปลาอยู่นั้นลูกชายก็จับแต่ปลาตัวใหญ่ๆใส่ในกระบุง (ก๋วย)ของแม่สาวคนที่ตนแอบชอบอยู่ แทนที่จะใส่ในกระบุง (ก๋วย) ของแม่ตัวเอง ส่วนแม่ของตัวเองนั้นอายุค่อนข้างเยอะ เชื่องช้า จับปลาแทบไม่ได้ ได้ก็แต่ตัวเล็กๆเท่านั้น ครั้นเมื่อกลับถึงบ้านต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันเข้าบ้าน แม่ก็รีบหุงหาทำกับข้าวใส่ปลาที่ได้มาตัวเล็กตัวน้อยเท่าที่มี ส่วนลูกชายนั่งยิ้มร่าตรงหัวบันได คิดในใจว่าวันนี้เราจับปลาตัวใหญ่ๆได้เยอะ เดี๋ยวแม่ของสาวที่ตนเองแอบชอบก็จะมีเรียกให้ไปทานข้าวด้วยแน่นอน แต่รอแล้วรอเล่าจวบจนมืดค่ำก็ไม่มีใครโผล่มาเรียกให้ไปทานข้าวด้วย มีแต่แม่ของเขาที่เรียกให้ลูกชายกินข้าว เมื่อแม่เห็นลูกเป็นเช่นนั้นจึงเข้าไปปลอบและก็บอกกับลูกชายว่า “เป่อเกร่อเอาะปว่าโหม่เต่อเกฺ…ปว่าโหม่เกฺเต่อก๊อเอาะเหน่อเม” อย่าอวดแม่คนอื่น…แม่คนอื่นไม่เรียกเรากินข้าวหรอกนะลูก เมื่อลูกชายได้ฟังที่แม่พูดถึงกับร้องไห้โฮ…เข้าไปโอบกอดแม่ สำนึกผิดในสิ่งที่ตัวเองกระทำไว้ พร้อมกับรับปากแม่ว่าต่อไปจะดูแลแม่ดีๆ จนกว่าชีวีจะหาไม่ แล้วทั้งสองแม่ลูกก็นั่งทานข้าวด้วยกันด้วยความสุขสำราญ เอาไว้เตือนตัวเอง แล้วนี่ก็ ใกล้วันแม่แล้วก็ขอให้แม่ทุกคนบนโลกใบนี้มีแต่ความสุข สุขกาย สบายใจ อยู่ไหนก็มีแต่คนรัก เดินทางใกล้ไกล แคล้วคลาด ปลอดภัย อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ทีวี […]

กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน

กี่เหน่ปือหน่าอาจึ” หรือ “พิธีผูกข้อมือให้ควาย” ซึ่งก็คือการทำขวัญควายให้กับเหล่ากระบือในความคุ้มครองของที่บ้าน วัตถุประสงค์ของพิธีกรรมนี้เพื่อแสดงความเคารพขอบคุณควายที่ช่วยให้การทำนาสำเร็จลงได้ด้วยดี แถมยังเป็นสิริมงคลให้กับควาย เชื่อว่าจะทำให้ควายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ออกลูกออกหลานเจริญเติบโต แคล้วคลาดและปลอดภัยจากภยันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการทำขวัญควายจะทำในช่วงที่เสร็จจากปลูกข้าวในไร่นาเรียบร้อยแล้ว (อาจจะทำช่วงเดียวกับผูกข้อมือประจำปี ลาคุ๊ (เดือนกรกฏาคม) แต่จะต้องหลังจากงานผูกข้อมือทำขวัญคนเสร็จและยังอยู่ภายในช่วงที่ฤดูฝนยังพรำเม็ด พิธีการเตรียม ด้าย เหล้าต้ม ข้าว น้ำ เกลือ หญ้า 3 ยอด เสื้อผ้าของใช้ของเจ้าของบ้าน และไก่ต้มหนึ่งคู่ ไก่ต้องเป็นตัวผู้กับตัวเมียอย่างละตัว และไก่ตัวนั้นพ่อแม่ไก่ก็ยังต้องมีชีวิตอยู่ ทั้งหมดเป็นของที่ใช้ในพิธีกรรมครั้งนี้เมื่อผูกฝ้ายหรือด้ายที่ปลายเขาให้ควายเสร็จแล้ว ประดับหญ้าไว้ที่หัวของควายอย่างสวยงาม ก็มีการเทเหล้าต้มให้ควายกินด้วย ไม่ได้ใส่แก้วเหมือนคนนะ แต่เทรดให้วัวเลียเอาเอง . . . นอกจากควายจะได้กินแล้ว คนก็ได้สิทธิ์นั้นด้วย โดยคนที่บ้านนี้มีคติความเชื่ออยู่ด้วยว่า เหล้าที่ต้มเพื่อทำขวัญควายครั้งนี้ ไม่ว่าจะต้มได้มากหรือน้อย เจ้าของควายจะต้องกินให้หมดภายในวันที่ทำพิธี ก็เอาไก่ต้มและของกินที่ใช้ทำพิธีนั่นหล่ะมาแกล้มเหล้าแกล้มข้าวกับคนในครอบครัว หรือเชิญเพื่อนบ้านที่สนิทสนมมากินด้วยกันก็ได้ เมามายไม่เป็นไร เพราะวันที่มีพิธีทำขวัญควายนี้ เขาถือ จะไม่ทำงานกัน ไม่สามารถเอารูปแบบจารีตของคนที่หนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับคนอีกที่หนึ่ง ว่าแบบไหนที่ถูกต้องหรือดั้งเดิม แม้จะเป็นชนชาวเดียวกันก็ตาม พิธีทำขวัญหรือมัดมือควายนี้ก็เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นของประกอบในพิธี ขั้นตอน […]

ประวัติอาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี)

ประวัติอาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) อาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2529 โดยมีพระสง่า เป็นพระธรรมจาริกรูปแรก ที่มาประจำที่อาศรมฯ เดิมทีอาศรมฯ ตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้าน แต่เนื่อจากอยู่ในที่ต่ำ ประกอบกับอากาศอับชื้นและสถานที่คับแคบ จึงได้ย้ายและไปตั้งใหม่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นภูเขาสูง อากาศโปร่งและสถานที่กว้างขวาง เมื่อปีพ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 เริ่มก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญหลังใหม่พร้อมกับการสร้างพระธาตุเจดีย์ทางทิศตะวันออของหมู่บ้าน ห่างจากอาศรมฯ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร การก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญหลังใหม่เสร็จสิ้น พร้อมด้วยเสนาสนะอื่นๆ ประกอบด้วย กุฏิ 6 หลัง โรงครัว 1 หลัง และห้องน้ำ 1 หลัง ได้ทำพิธีฉลองสมโภช เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2553 ลำดับพระธรรมจาริกที่มาประจำอาศรมฯ มีดังนี้ 1.พระสง่า พ.ศ.2529 2.สามเณรจ๊อเหม่อพอ พ.ศ. […]

ประวัติพระธาตุห้วยหมาก-ลาง (โฆฺ่ข่อบือคี)

ประวัติพระธาตุเจดีย์ห้วยหมาก-ลาง (โฆฺ่ข่อบือคี) พระธาตุห้วยหมาก-ลาง ตำบลห้วยโป่ง อำเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาศรมฯ มีขนาดความสูง 12 ศอก เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 30 วัน โดยมีพระบุญชู ปุญญธโร เป็นผู้ออกแบบและริเริ่มก่อสร้าง อาศัยเหตุที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำห้วยหมาก-ลาง ในอดีตเคยเป็นเมืองเก่าและเคยมีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบน่าจะมีอายุหลายร้อยปีมาแล้ว ปัจจุบันในพื้นที่ทำกินหลายแห่งของชาวบ้านยังคงมีซากอิฐ เครื่องปั้นดินเผา ปรากฏอยู่และบริเวณบ้านน้ำโค้งยังพบร่องรอยพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ 2 องค์ ซึ่งเคยมีชาวบ้านพบพระพุทธรูปโบราณเป็นพระแก้วมรกตในบริเวณนี้ด้วย จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ในวันสำคัญ เช่น วันพระ มักจะได้ยินเสียงฆ้อง กลอง ช้าง ม้า เป็นต้น อยู่เสมอและมักเห็นดวงไฟขนาดใหญ่พุ่งลงบริเวรณที่สร้างพระธาตุเจดีย์และบริเวณอาศรมบ้านห้วยหมาก-ลาง (ข่อบือคี) ปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้พระบุญชู ปุญญธโร พระธรรมจาริกในพื้นที่ได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิกและคณะศรัทธนา ชาวบ้าน บ้านห้วยหมาก-ลาง(ข่อบือคี) และบ้านใกล้เคียง มาร่วมกันสร้างพระธาตุนี้ขึ้น โดยนิมนต์พรพล จิตฺตสวโร วัดศรีดอนชัย […]

บทลำนำที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของข้าว

บทลำนำที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของข้าว บือ หมื่อ อะ ทิ โอะ เลอ แล           ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ พอ อะ ทิ โอะเลอแล           แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ที่ใด บือ หมื่อ อะ ทิ เลอ ว่า แร            ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ด้านโน้น บือ พอ อะทิ เลอ ว่า แร    แหล่งกำหนดข้าวอยู่ด้านโน้น อะ ทู่ โดะ อ่า หล่า จวี่แย      ต้นดกๆ มีใบงามๆ กว่า แกะ มื่อแม เดอ โพ่แฆ         ได้เลี้ยงชีวิตแม่ม้ายและคนกำพร้า

เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ… เงินเต็มถัง ข้าวไม่เต็มถัง

เจ๊ะ ปแก กื้อ บือ เตอะ ปแก กื้อ เงินเต็มถัง ข้าวไม่เต็มถัง นี่ก็เป็นอีกสุภาษิตหนึ่งที่ตอกย้ำถึงความสำคัญของข้าว เมื่อถึงเวลาที่ข้าวยากหมากแพง ข้าวกับเงินนั้นต้องแลกด้วยปริมาณที่เท่ากัน นั่นคือข้าวหนึ่งลิตร ข้าวก็ต้องหนึ่งลิตรหรือมากกว่านั้น คือเงินหนึ่งลิตรแต่อาจจะได้ข้าวไม่ถึงลิตรด้วยซ้ำ หรือเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคนก็จะให้ความสำคัญแก่เงินทอง มากกว่าให้ความสำคัญแก่ข้าว (การทำไร่ทำนา) แต่เดิมคนในสังคมต่างก็ให้ความสำคัญกับการทำไร่ไถนาข้าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่เวลานี้ไม่ใช่แล้ว ชาวนากลายเป็นคนชั้นต่ำของสังคม  

มา ทือ เอาะ หยื่อ… มา แว เอาะ เม ทำที่ดักหนูได้กินหนู ทำไร่ทำนาได้กินข้าว

มา ทือ เอาะ หยื่อ มา แว เอาะ เม ทำที่ดักหนูได้กินหนู ทำไร่ทำนาได้กินข้าว วิถีชีวิตของปวาเก่อญอนั้น ก็ขึ้นกับการทำไร่ข้าว เพราะเมื่อทำไร่ก็ไม่ใช่มีเฉพาะข้าวเท่านั้น สิ่งอื่นๆ ที่นอกจากข้าวก็สามารถหากินจากป่าได้ด้วย โดยการทำที่ดักหนูเพื่อป้องกันศัตรูข้าว หรือดักหนูเพื่อนำไปทำอาหารก็ได้ นี่ผูกพันกับข้าวและการหากินจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเขา ก็สามารถเอาชีวิตรอดได้ สำหรับชนชาวปวาเก่อญอ อยู่กับป่า พึ่งป่า หากินกับป่า ป่าจึงเป็นชีวิตของเขา เพราะฉะนั้นใครที่พูดว่า “ชนชาวปวาเก่อญอทำลายป่า” แสดงว่าเขายังเข้าใจไม่ถูกต้อง

คนขึ้นต้นไม้เก่ง ตกต้นไม้ตาย…คนว่ายน้ำเก่ง จมน้ำตาย

ปกฺาถ่อเส่เซ ปกฺาลอแท๊ะซี…ปกฺาป่อทีเซอ ปกฺาลออึซีคนขึ้นต้นไม้เก่ง ตกต้นไม้ตาย…คนว่ายน้ำเก่ง จมน้ำตายในชีวิตคนเรานั้นไม่มีความแน่นอน ถึงแม้เราจะมีความเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก็อาจจะมีพลาดพลั้งในเรื่องนั้นๆได้ ธาบทนี้ได้สอนเราให้รู้ว่า อย่าประมาทอวดเก่ง ในสิ่งที่ตนเองรู้และอย่าคิดว่าผู้อื่นไม่รู้ คนที่ประมาทอวดเก่งในเรื่องใดก็จะตายในเรื่องนั้น

1 2 3